CSR MODEL

CSRMODEL

เปรียบเทียบสมรรถนะเครื่องบิน
กับแบบจำลอง CSR

Airplane 

CSR Model

CSRmodel1

Airplane 

ปลายหัวเครื่องบิน: การมุ่งสู่ เป้าหมาย อย่างมีประสิทธิภาพทางอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics)

CSR Model

ลูกค้า: การมุ่งไปสู่ลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นถึงความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ

CSRmodel1

Airplane 

แผงควบคุม: ควบคุมระบบพลศาสตร์ทั้งหมดของเครื่องบิน รวมทั้งระบบภายในห้องนักบิน

CSR Model

นโยบายการบริหารงานบุคคล: เป็นนโยบายที่ควบคุมระบบงานบุคคลทั้งหมด เพื่อเป็นกรอบในการควบคุมพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของพนักงาน

CSRmodel1

Airplane 

นักบิน: ต้องเป็นผู้มีความรู้ ทักษะและชั่วโมงบินสูง

CSR Model

การบริหารสมรรถนะความสามารถของพนักงาน: คือระบบการสวิทซ์ / ต้องเพิ่มความรู้ทักษะให้กับคนทำงาน

CSRmodel1

Airplane 

ล้อ: อุปกรณ์ที่จำเป็นเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนขณะขึ้นและลงของ อากาศยาน

CSR Model

ระบบการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน: การจ่ายเงินเดือนไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลา แต่ก็จำเป็นจะต้องมีการจ่ายเงินเดือนที่เป็นมาตรฐาน และสม่ำเสมอเดือนละ 1 ครั้ง

CSRmodel1

Airplane 

อาวุธและยุทโธปกรณ์: อุปกรณ์ในการป้องกันและโจมตีข้าศึก ทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน

CSR Model

เงินปันผลจากยอดขาย: เงินค่าตอบ แทนส่วนเพิ่มที่จูงใจที่ใช้ในการต่อสู้แข่งขันกับองค์กรอื่นในการเพิ่มส่วนแบ่งทางตลาด

CSRmodel1

Airplane 

ไอพ่น: อุปกรณ์สำคัญในการขับดันอากาศยานไปข้างหน้า และเร่งความเร็วในกรณีที่จำเป็น

CSR Model

การบริหารการปฏิบัติของพนักงาน: เป็นตัวขับเคลื่อนผลงาน ให้ผลงานออกมามากหรือน้อย เปรียบเสมือนไอพ่นที่ทำให้เครื่องบิน บินได้เร็วหรือช้า

CSRmodel1

Airplane 

ลำตัวเครื่องบิน: เป็นส่วนที่สำคัญเพื่อใช้ในการควบคุมการไหลของอากาศ ที่บรรจุน้ำมัน รวมทั้งระบบกลไกภายในที่ซับซ้อน เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

CSR Model

ค่าตอบแทนแบบเบ็ดเสร็จ: เป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดและ เป็นศูนย์รวมของระบบย่อย ของระบบค่าตอบแทนทั้งหมด มีโครงสร้างเงินเดือนเป็นแก่นหรือ หัวใจสำคัญ

CSRmodel1

Airplane 

ปลายหาง: เป็นส่วนที่ควบคุมเสถียรภาพของเครื่องบินขณะเคลื่อนที่ในอากาศ มีสัญญาณไฟกระพริบ เพื่อระบุตำแหน่งของเครื่องบิน เพื่อลดอุบัติเหตุจากการปะทะหรือการชน

CSR Model

การสำรวจค่าจ้างเงินเดือน และการกำหนดค่าตอบแทนเฉพาะตำแหน่ง: เป็นเครื่องมือบอกให้รู้ว่าขณะนี้การจ่ายของเราอยู่ ณ จุดใด เมื่อเปรียบเทียบกับตลาด เพื่อลดการสูญเสียพนักงานที่มีความสามารถและมีศักยภาพสูงให้แก่คู่แข่ง

เราสามารถตอบโจทย์ของปัญหาส่วนมากในองค์กรได้ดังนี้

ความผูกพันธ์ของบุคลากรต่อองค์กร (Employee Engagement)

  • บุคลากรของท่านรักองค์กรหรือไม่

  • องค์กรจะทราบว่าความรู้สึกส่วนลึกและตอบสนองต่อบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กรได้อย่างไร

  • ท่านอยากทราบหรือไม่ว่าทำไมบุคลากรไม่ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที

  • ท่านจะทำให้บุคลากรรู้สึกมีความเป็นเจ้าของ(Sense of Belonging)ได้อย่างไร

นโยบายการบริหารงานบุคคล (HR Policy) ขององค์กรท่าน

  • สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานไทยหรือไม่

  • สอดคล้องกับตลาดแรงงานหรือไม่

  • เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่

การบริหารสมรรถนะความสามารถของพนักงาน (Competency Management)

  • สมรรถนะความสามารถหลัก (Core Competencies) ที่ขับเคลื่อนองค์กรของท่านคืออะไร

  • ตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่งในองค์กรของท่านต้อง การความสามารถใดบ้าง และในระดับใดเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย

  • พนักงานแต่ละคนมีความสมรรถนะที่เหมาะสมกับ ตำแหน่งที่รับผิดชอบหรือไม่ เพียงใด

การบริการจัดการระบบการจ่ายเงินเดือน (Payroll Outsourcing) ท่านกังวลใจเกี่ยวกับการจ่ายเงินเดือน ในประเด็นเหล่านี้หรือไม่

  • การจ่ายเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม และกฏหมายภาษีอากร

  • ความลับของเงินเดือน

  • การวิเคราะห์แนวโน้มของการจ่ายของแต่ละประเภท และตั้งข้อสังเกตแก่ผู้บริหารในประเด็นที่ผิดปรกติ

เงินปันผลจากยอดขาย (Sales Incentive)

  • เงินปันผลจากยอกขายของบริษัทของท่าน

  • กระตุ้นยอดขายและ ทำให้พนักงานขายมีแรงจูงใจที่จะบรรลุเป้าการขายหรือไม่

  • สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของตลาดหรือไม่

  • ขัดแย้งกับกลยุทธ์ขององค์กรหรือไม่

  • กระตุ้นการบรรลุเป้าการขายทั้งในระดับบุคคล และทีมงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าการขายรวมขององค์กรหรือไม่

การบริหารการ ปฏิบัติการงานของพนักงาน(Performance Management)

  • พนักงานของท่านทราบหรือไม่ว่าเป้าหมายที่ทาง องค์กรคาดหมายจากพวกเขาคืออะไร

  • หัวหน้างานได้วางบทบาทในฐานะที่เป็น “ที่ปรึกษา” หรือ “ผู้ให้คำแนะนำ” ที่ดี แก่พนักงานหรือไม่ เพียงใด

  • ปัจจัยการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์กร มีความเป็นธรรมมากน้อยเพียงใด

  • ระบบการให้รางวัลขององค์กรมีความสอดคล้องกับ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมากน้อยเพียงใด

ค่าตอบแทนแบบเบ็ดเสร็จ (Total Compensation Package)

  • นโยบายการจ่ายค่าตอบแทนขององค์กร (ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน) ควรเป็นอย่างไร

  • ค่าตอบแทนในรูปของเงินเดือน เงินส่วนเพิ่มคงที่ เงินสวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อกูลต่างๆ และเงินปันผลจากยอดขาย ควรมีสัดส่วนการจ่ายอย่างไร

การจัดทำโครงสร้างเงินเดือน (Salary Structuring)

  • ภายในองค์กรของท่าน มีความเป็นธรรมเรื่องการจ่ายเงินเดือนแก่พนักงานหรือไม่

  • เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดภายนอกแล้ว ตามนโยบายการจ่ายที่ท่านวางไว้ ท่านจะจัดการกับบุคคลที่ได้รับเงินเดือนสูงเกินไป และต่ำเกินไปอย่างไร

  • เงินเดือนสูงสุดและต่ำสุดของตำแหน่งหนึ่งๆ ควรมีค่าเท่ากับเท่าไร

  • พนักงานของท่านมีความพึงพอใจกับเงินเดือนที่ ได้รับหรือไม่

การสำรวจค่าจ้าง (Salary Survey) ท่านประสบปัญหาเหล่านี้หรือไม่

  • ท่านมีความมั่นใจหรือไม่ว่าการจ่ายค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและ ไม่เป็นตัวเงินขององค์กรท่าน มีความเหมาะสมแล้ว เมื่อเปรียบเทียบกับตลาด

  • การจ่ายค่าตอบแทนขององค์กรทั้งที่เป็นตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงินสำหรับตำแหน่งหนึ่งๆ ที่เหมาะสมควรเป็นอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกันหรือคู่แข่ง

การกำหนดค่า ตอบแทนเฉพาะตำแหน่ง (Job Pricing)

  • เมื่อองค์กรต้องการรับพนักงานเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะในตำแหน่งที่สำคัญ องค์กรควรจ่ายค่าตอบแทนทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งหนึ่งๆ เป็นจำนวนเท่าไร จึงจะเหมาะสม

CSR1
CSR1
CSR1
CSR3

5/38-5/39 Baan Klang Muang
Ratchavipa - Monti Carlo, Ladyao
Chatuchak, Bangkok 10900 Thailand.
Tel: 02 196 2386, Mobile: 061 898 6776
Email: easra@csrgroup.co.th

CSR%20Map

© 1996-2023 CSR Consulting Group